ความเป็นมาตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์เป็นวิชาแขนงหนึ่งที่มีการศึกษาและพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ คำว่า    "ตรรกศาสตร์"   มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ตรฺก"  (หมายถึง การตรึกตรอง หรือความคิด)  รวมกับ    "ศาสตร์" (หมายถึง ระบบความรู้)  ดังนั้น  "ตรรกศาสตร์ จึงหมายถึง ระบบวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความคิด"  โดยความคิดที่ว่านี้ เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับการให้เหตุผล มีกฏเกณฑ์ของการใช้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผล  นักปราชญ์สมัยโบราณได้ศึกษาเกี่ยวกับการให้เหตุผล แต่ยังเป็นการศึกษาที่ไม่เป็นระบบ จนกระทั่งมาในสมัยของอริสโตเติล ได้ทำการศึกษาและพัฒนาตรรกศาสตร์ให้มีระบบยิ่งขึ้น  มีการจัดประเภทของการให้เหตุผลเป็นรูปแบบต่าง ๆ  ซึ่งเป็นแบบฉบับของการศึกษาตรรกศาสตร์ในสมัยต่อมา  เนื่องจากตรรกศาสตร์เป็นวิชาทว่าด้วยกฏเกณฑ์ของการใช้เหตุผล  จึงเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ  เช่น ปรัชญา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ เพียงแต่      รูปแบบของการให้เหตุผลนั้น  มักจะละไว้ในฐานที่เข้าใจ  และเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับ      ผู้ศึกษาที่จะนำไปใช้และศึกษาต่อไป  จึงจะกล่าวถึงตรรกศาสตร์และการให้เหตุผลเฉพาะส่วนที่   จำเป็นและสำคัญเท่านั้น

ตรรกศาสตร์(Logic)
ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผล  การได้มาของผลภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดถือเป็นสาระสำคัญ  ข้อความหรือการให้เหตุผลในชีวิตประจำวันสามารถสร้างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนจนใช้ประโยชน์ในการสรุปความ  ความสมเหตุสมผลเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ตรรกศาสตร์เป็นแม่บทของคณิตศาสตร์แขนงต่าง ๆ และการประยุกต์
ตรรกศาสตร์เป็นส่วนหนึ่ง  ที่อยู่ในส่วนของการประมวนผลข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์ในด้านการประมวลผลข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์ในด้านการประมวลผลเชิงตรรก  โดยในเรื่องนี้จะเป็นการประมวลผลค่าความจริงเพียงค่าเดียวซึ่งในการคำนวณจะเน้นเชิงของเหตุและผล  ตามหลักของ  พิชคณิตบูลีน  ซึ่งในการให้ค่าความจริงนั้น  จะมีค่าจริงและค่าเท็จ  แต่จะให้ผลออกมาค่าใดค่าหนึ่งเท่าหนึ่งเท่านั้น  ในการประมวลของตรรกศาสตร์นั้น  ยังต้องอาศัยตัวเชื่อมเข้ามาเกี่ยวข้อง  เพื่อให้การวิเคราะห์  หรือ  ตัดสินใจนี้ให้เหตุผลที่ถูกต้องที่สุดอีกด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ค่าความจริงของประพจน์และตัวเชื่อม Truth Table

กฎเดอมอร์แกน