ค่าความจริงของประพจน์และตัวเชื่อม Truth Table
ในการเชื่อมประพจน์นั้นบางครั้งจะต้องใช้ตัวเชื่อมหลายตัวมาเชื่อมประพจน์ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการหาค่าความจริงว่าควรที่จะเริ่มต้นที่ตัวใดก่อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการลำดับสัญลักษณ์ที่ “ คลุมความ ” มากที่สุดและรองลงมาตามลำดับ ตารางความจริง คือ ตารางที่สร้างขึ้นเพื่อใช้หาค่าความจริงของประพจน์ ตัวอย่าง ถ้ามีตัวแปร 2 ตัว จะมีจำนวนแถว =22 = 4 ถ้ามีตัวแปร 3 ตัว จะมีจำนวนแถว = 23 = 8 การสร้างตารางความจริง 1. ตีตารางที่มีจำนวนช่องเท่ากับจำนวนตัวแปรรวมกับจำนวนตัวเชื่อม 2. เขียนค่าความจริงของตัวแปรก่อน (p,q,...) 3. เริ่มเขียนค่าความจริงของประพจน์ย่อยที่เล็กที่สุดก่อน แล้วจึงเขียนประพจน์ที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ หลักในการหาค่าความจริง 1. เขียนค่าความจริงของประพจน์ย่อย หรือตัวแปรแต่ละตัวก่อน เช่น p,q,r,... 2. หาค่าความจริงที่เป็นนิเสธของตัวแปร ถ้ามี ~p,~q,... 3. หาค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อมที่กินความน้อยที่สุด 4. หาค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อมที่กินความมากขึ้นตามลำดับ 5. ถ้าตัวเชื่อมกินความเท่ากัน ให้ทำจากซ้ายไปขวา 6. ถ้ามีวงเล็บควรทำในวงเล็บก่อน